Work From Home ยังไง !!! ไม่ให้ Burnout ไปซะก่อน l Robowealth Work EP.4

Work From Home ยังไง !!! ไม่ให้ Burnout ไปซะก่อน l Robowealth Work EP.4

สถานการณ์ Lockdown ไม่ Lockdown แบบนี้ ชมรมคนรักงานอย่างเราก็จำเป็นต้อง Work From Home กันไปยาว ๆ แต่ด้วยสภาวะแบบนี้ จะให้ทำงานอย่างมีความสุขร่าเริงมันก็ทำได้ยาก แค่ Work From Home ก็ทำให้เรา Burnout ได้ง่ายอยู่แล้ว ยิ่งมาเจอสถานการณ์ COVID-19 ประชิดตัวอีก เรียกว่ากระตุ้นให้ท้อแท้ เหนื่อยล้า และ Burnout ได้โดยง่าย Robowealth อยากขอเป็นส่วนหนึ่งในการให้กำลังใจทุกคน ต่อให้อะไร ๆ จะไม่ได้ดั่งใจ แต่เรามาจัดการสิ่งที่เราพอจะควบคุมได้ นั่นก็คือความรู้สึกในการทำงานของเรา จะได้ไม่ Burnout กันไปซะก่อน ‘Burnout’ คืออะไร แปลตรงตัว ก็คือการเผาไหม้ เปรียบเสมือนการเผาไหม้อารมณ์ของคนเราจนมันมอดดับลงไปทุกวัน หรือเรียกว่า ‘หมดไฟในการทำงาน’ ภาวะ Burnout Syndrome คือการอ่อนล้าทางอารมณ์ ร่างกายและจิตใจ สาเหตุมาจากความเครียดเรื้อรังจากการทำงานมากเกินไป รู้สึกสูญเสียพลังงาน มีความรู้สึกต่อต้านและมองงานของตนเองในทางลบ ไม่มีแรงจูงใจที่จะประสบความสำเร็จในงาน และรู้สึกห่างเหินจากคนอื่น […]

สถานการณ์ Lockdown ไม่ Lockdown แบบนี้ ชมรมคนรักงานอย่างเราก็จำเป็นต้อง Work From Home กันไปยาว ๆ แต่ด้วยสภาวะแบบนี้ จะให้ทำงานอย่างมีความสุขร่าเริงมันก็ทำได้ยาก แค่ Work From Home ก็ทำให้เรา Burnout ได้ง่ายอยู่แล้ว ยิ่งมาเจอสถานการณ์ COVID-19 ประชิดตัวอีก เรียกว่ากระตุ้นให้ท้อแท้ เหนื่อยล้า และ Burnout ได้โดยง่าย

Robowealth อยากขอเป็นส่วนหนึ่งในการให้กำลังใจทุกคน ต่อให้อะไร ๆ จะไม่ได้ดั่งใจ แต่เรามาจัดการสิ่งที่เราพอจะควบคุมได้ นั่นก็คือความรู้สึกในการทำงานของเรา จะได้ไม่ Burnout กันไปซะก่อน

‘Burnout’ คืออะไร

แปลตรงตัว ก็คือการเผาไหม้ เปรียบเสมือนการเผาไหม้อารมณ์ของคนเราจนมันมอดดับลงไปทุกวัน หรือเรียกว่า ‘หมดไฟในการทำงาน’

ภาวะ Burnout Syndrome คือการอ่อนล้าทางอารมณ์ ร่างกายและจิตใจ สาเหตุมาจากความเครียดเรื้อรังจากการทำงานมากเกินไป รู้สึกสูญเสียพลังงาน มีความรู้สึกต่อต้านและมองงานของตนเองในทางลบ ไม่มีแรงจูงใจที่จะประสบความสำเร็จในงาน และรู้สึกห่างเหินจากคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงาน หรือลูกค้า รวมถึงขาดความผูกพันกับสถานที่ทำงาน ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจที่ยังไม่ถึงขั้นเจ็บป่วยทางจิตเวช แต่นำไปสู่โรคต่างๆได้อีกมากมาย เช่น นอนไม่หลับ ภาวะซึมเศร้า เป็นต้น

ไม่น่าแปลกใจเลย ที่หลายคนจะเริ่มมีสัญญาณเตือนของภาวะ Burnout ออกมาให้เห็น เพราะสถานการณ์ตอนนี้ รวมถึงพิษเศรษฐกิจต่าง ๆ ทำให้หลายคนเกิดความเครียดสะสม

WFH ใครบอกว่าสบาย มันกลับกลายเป็นการทำงานไม่เป็นเวลา ทำงานตลอดเวลา บางทีไม่สามารถแยกเวลาพักผ่อนกับเวลาทำงานออกจากกันได้ และยังสารพัดปัญหาถาโถมเข้ามา หันมองไปทางไหนก็มีแต่จะหมดไฟในการทำงาน หากคุณกำลังรู้สึกแบบนี้อยู่ Robowealth ขอให้คุณสูดหายใจลึก ๆ 1 ฮึบ แล้วมาตั้งสติกัน ท่องไว้ เราจะต้องรอด !

มาดูกันว่า เราจะ WFH อย่างไรได้บ้างในช่วงนี้ ให้เราไม่ Burnout ไปซะก่อน

1. แยกเวลางานกับเวลาส่วนตัวให้ชัดเจน !!!

ไปออฟฟิศเราเคยแบ่งเวลายังไง ก็พยายามทำให้คล้าย ๆ กัน เพื่อที่เราจะได้มีเส้นแบ่งความรู้สึก Professional กับ Relax ออกจากกัน อาจจะกำหนดเป็นเวลาเช่น 09.00 – 18.00 น. จะเป็นเวลาของการทำงานอย่างเต็มที่ หลังจากนั้นจะเป็นเวลาของตัวเองและครอบครัว ซึ่งสามารถยืดหยุ่นเวลาแล้วแต่การทำงานได้

ยิ่งถ้าแยกห้องนอนกับห้องทำงานออกจากกันได้จะดีมาก แต่คนส่วนมากอาจจะทำไม่ได้เพราะไม่มีพื้นที่มากขนาดนั้น ก็อาจจะใช้วิธีแยกเวลาให้ชัดเจนแทนก็พอช่วยได้

2. ข้อดีของ WFH คือ เรามีเวลาเพิ่มวันละ 2 ชั่วโมง

การ WFH ทำให้เราได้เวลาคืนมาจากการเดินทาง ยิ่งถ้าในกรุงเทพเหมือนได้เวลาคืน 2 ชั่วโมงอย่างต่ำ ยิ่งถ้ารวมเวลาในการแต่งตัวแต่งหน้าออกไปทำงานของคุณผู้หญิงก็คือเหมือนได้คืนมาอีก 1 ชั่วโมงรวมเป็น 3 ชั่วโมงต่อวันเลยทีเดียว

เวลาที่ได้คืนมานั้น เอาไปทำอะไรดี

นี่คือช่วงเวลาทอง อะไรที่ปกติเราเคยทำไม่ไหวเพราะเหนื่อยล้าจากการทำงาน ก็จะได้มาทำในตอนนี้ บางคนออกกำลังกาย ทำกับข้าวกินเอง มีเวลาดูหนังได้วันละเรื่อง บางคนสร้างช่อง Youtube สำเร็จในช่วงนี้เลยทีเดียว เพราะฉะนั้น นี่คือจังหวะที่อยากทำอะไรก็จะสามารถทำได้ในช่วงนี้

3. Zoom หาเพื่อนร่วมงาน หรือคนอื่น ๆ บ้าง

เวลาเราออกไปทำงาน ได้ไปออฟฟิศ ไปทำงานร้านกาแฟ เราจะได้เจอผู้คน แต่ตอนนี้เราเจอใครไม่ได้ ก็ทำให้เหงาและหดหู่ ซึ่งเป็นตัวเร่งภาวะ Burn Out ได้เป็นอย่างดี

แต่ตอนนี้เราก็สามารถใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยได้ ด้วยการจัด Zoom เหมือนจัดประชุมทำงานปกติเลย แต่เราแค่มาคุยเล่นกัน หาอะไรกินของใครของมัน เลือกเวลาเลิกงานสัก 1-2 ชั่วโมงวันไหนก็ได้ (แนะนำวันศุกร์) ให้รู้สึกเหมือนเรายังได้ติดต่อกับเพื่อนของเราอยู่ ลองดูสิ วิธีอันนี้เวิร์คสุด ๆ

4. เสพข่าวที่ทำให้หดหู่ให้น้อยลง

เป็นเรื่องปกติที่เราจะต้องติดตามข่าวอย่างใกล้ชิดไปพร้อม ๆ กับการทำงาน เพราะถ้ามีอะไรอัพเดตขึ้นมาเราจำเป็นต้องปรับตัวให้ทัน ซึ่งพูดกันตามตรง แต่ละคนรับก็พลังงานลบได้ไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้น เอาที่ตัวเองไหว เมื่อใดก็ตามที่รู้สึกหดหู่เกินไป ให้หยุดพักก่อน แล้วหาอะไรที่ทำให้เรารู้สึกดีขึ้นมาบ้าง ก่อนที่เราจะเสพข่าวจนรู้สึกท้อ หมดหวัง ตามมาด้วย Burnout จนในที่สุดอาจจะไปถึงซึมเศร้าได้เลย

ก่อนจะไปถึงขั้นนั้น เราต้องพยายามรักษาสุขภาพจิตให้ยังโอเคอยู่ด้วย เพราะช่วงนี้เราไม่ได้รับมือแค่เรื่องโรคระบาดเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องรับมือกับภาวะเศรษฐกิจอีกด้วย บางคนโดนผลกระทบน้อย บางคนหนักหนามาก ซี่งว่ากันตามตรง เรื่องนี้เป็นหนึ่งในเรื่องที่ทำให้คนเราเครียดได้มากที่สุดแล้ว

ดังนั้น Robowealth ขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจ ให้เราคนไทยก้าวผ่านวิกฤตินี้ไปด้วยกัน

อ่านเรื่องเกี่ยวกับการทำงานเรื่องอื่น ๆ ได้ที่ #RobowealthWork

#Robowealth