ท่ามกลางมรสุมโควิด ธุรกิจวัคซีนน่าลงทุนขนาดไหน ?

ท่ามกลางมรสุมโควิด ธุรกิจวัคซีนน่าลงทุนขนาดไหน ?

10 วันที่ผ่านมา ตัวเลขยอดผู้ติดเชื้อทั่วโลกพุ่งเกินวันละหลายแสนคน การติดเชื้อที่แพร่ระบาดทั่วโลกนี้ ทำให้อัตราการนำเข้าวัคซีนทั้งในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้ตลาดหุ้นกลุ่มวัคซีนเติบโตอย่างก้าวกระโดดในปีที่ผ่านมา วันนี้ Robowealth ชวนมาดูว่า ตลาดวัคซีนจะมีศักยภาพเติบโตในอนาคตขนาดไหน ใครที่อยากลงทุนในธุรกิจนี้ จะลงทุนยังไงดี ? ไปดู ย้อนไปดูภาพรวมตลาดวัคซีนทั่วโลก คาดการณ์ว่ามีมูลค่าหลายแสนล้านบาท ส่วนในไทยก่อนเกิดการระบาดโควิด มูลค่าตลาดวัคซีนประมาณ 5,000 ล้านบาทต่อปี และช่วงการระบาดของโควิด คาดการณ์ว่าตลาดวัคซีนจะมีมูลค่าอยู่ที่ 30,000 ล้านบาทต่อปี (คำนวณจากมูลค่าวัคซีนที่รัฐต้องจ่ายในการป้องกันประเทศ) เนื่องจากยอดการจองซื้อวัคซีนได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในไทยและต่างประเทศ ยอดการจองทั่วโลกอยู่ที่ 9,600 ล้านโดส (ข้อมูล ณ วันที่ 24 พ.ค. 2564) ด้วยอัตราการจองวัคซีนที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้ ส่งผลให้ธุรกิจที่ประกอบการผลิตวัคซีนเติบโตสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะการเติบโตขึ้นของวัคซีน จะเติบโตตามสายพันธุ์การระบาดในแต่ละช่วงที่ผ่านมา อย่างช่วงแรก ๆ ที่มีการระบาดของสายพันธุ์อู่ฮั่น ระยะแรกก็จะมีการใช้วัคซีนตัวทดลองชนิดเชื้อตายก่อนอย่าง Sinovac ตามมาด้วยการระบาดของสายพันธุ์ที่เริ่มแข็งแกร่งขึ้น สามารถต่อต้านวัคซีนชนิดเดิมก่อนหน้านี้ได้ โดยเฉพาะสายพันธุ์เดลตาที่กำลังระบาดในไทย อยู่ในปัจจุบันส่งผลให้วัคซีนที่ได้รับการพัฒนา เพื่อต่อต้านสายพันธุ์สุดโหดที่โหดขึ้นในทุกวัน เติบโตขึ้นตามประสิทธิภาพของวัคซีนที่สามารถยับยั้งเชื้อโรคได้ วัคซีนชนิดแรกที่ได้ชัยในตอนนี้ คือ หุ้นวัคซีนชนิด mRNA […]

10 วันที่ผ่านมา ตัวเลขยอดผู้ติดเชื้อทั่วโลกพุ่งเกินวันละหลายแสนคน การติดเชื้อที่แพร่ระบาดทั่วโลกนี้ ทำให้อัตราการนำเข้าวัคซีนทั้งในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้ตลาดหุ้นกลุ่มวัคซีนเติบโตอย่างก้าวกระโดดในปีที่ผ่านมา วันนี้ Robowealth ชวนมาดูว่า ตลาดวัคซีนจะมีศักยภาพเติบโตในอนาคตขนาดไหน ใครที่อยากลงทุนในธุรกิจนี้ จะลงทุนยังไงดี ? ไปดู

ย้อนไปดูภาพรวมตลาดวัคซีนทั่วโลก คาดการณ์ว่ามีมูลค่าหลายแสนล้านบาท ส่วนในไทยก่อนเกิดการระบาดโควิด มูลค่าตลาดวัคซีนประมาณ 5,000 ล้านบาทต่อปี และช่วงการระบาดของโควิด คาดการณ์ว่าตลาดวัคซีนจะมีมูลค่าอยู่ที่ 30,000 ล้านบาทต่อปี (คำนวณจากมูลค่าวัคซีนที่รัฐต้องจ่ายในการป้องกันประเทศ) เนื่องจากยอดการจองซื้อวัคซีนได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในไทยและต่างประเทศ ยอดการจองทั่วโลกอยู่ที่ 9,600 ล้านโดส (ข้อมูล ณ วันที่ 24 พ.ค. 2564)

ด้วยอัตราการจองวัคซีนที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้ ส่งผลให้ธุรกิจที่ประกอบการผลิตวัคซีนเติบโตสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะการเติบโตขึ้นของวัคซีน จะเติบโตตามสายพันธุ์การระบาดในแต่ละช่วงที่ผ่านมา

อย่างช่วงแรก ๆ ที่มีการระบาดของสายพันธุ์อู่ฮั่น ระยะแรกก็จะมีการใช้วัคซีนตัวทดลองชนิดเชื้อตายก่อนอย่าง Sinovac ตามมาด้วยการระบาดของสายพันธุ์ที่เริ่มแข็งแกร่งขึ้น สามารถต่อต้านวัคซีนชนิดเดิมก่อนหน้านี้ได้ โดยเฉพาะสายพันธุ์เดลตาที่กำลังระบาดในไทย อยู่ในปัจจุบันส่งผลให้วัคซีนที่ได้รับการพัฒนา เพื่อต่อต้านสายพันธุ์สุดโหดที่โหดขึ้นในทุกวัน เติบโตขึ้นตามประสิทธิภาพของวัคซีนที่สามารถยับยั้งเชื้อโรคได้

วัคซีนชนิดแรกที่ได้ชัยในตอนนี้ คือ หุ้นวัคซีนชนิด mRNA ที่ใช้เทคโนโลยี mRNA ในการผลิตนั้น ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในโลกในตอนนี้ ทำให้บริษัทที่เกี่ยวข้องกับการผลิตวัคซีนชนิดนี้เติบโตขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา ได้แก่

บริษัทผู้ผลิต Moderna วัคซีนตัวที่ 2 ที่ได้รับการอนุมัติตามมาตรการฉุกเฉินจากองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) และสามารถใช้กับผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคปอด โรคหัวใจ เบาหวาน โรคอ้วน หรือแม้แต่ผู้ติดเชื้อ HIV โดยมูลค่าบริษัทอยู่ที่ 4.06 ล้านล้านบาท และมีผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี อยู่ที่ 297.2%

บริษัทผู้ผลิต Pfizer และ BioNTech เป็นวัคซีนตัวแรกที่ได้รับการอนุมัติตามมาตรการฉุกเฉินจากองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) อีกทั้งยังมีรายงานว่าสามารถป้องกันไวรัสกลายพันธุ์จากบราซิลได้ โดยทางบริษัทตั้งเป้าผลิตวัคซีนให้ได้ 3 พันล้านโดสในปีหน้าเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการทั้งโลก โดย Pfizer มีมูลค่าบริษัทอยู่ที่ 7.56 ล้านล้านบาท และมีผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี อยู่ที่ 22.86% ส่วน BioNTech มีมูลค่าบริษัทอยู่ที่ 1.95 ล้านล้านบาท และมีผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี อยู่ที่ 184.37%

และบริษัทเหล่านี้มีปริมาณยามากกว่าหนึ่งพันล้านโดสที่ทำสัญญาซื้อขายและต้องส่งมอบยาวถึงปีหน้า เนื่องจากประสิทธิภาพของเทคโนโลยี mRNA ที่สามารถยับยั้งการแพร่ระบาดสายพันธุ์ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นมาได้

วัคซีนชนิดต่อมาที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก คือ วัคซีนชนิด Viral Vector ที่สามารถยับยั้งสายพพันธุ์ต่าง ๆ ที่เข้ามาในไทยได้ ยกเว้นสายพันธุ์เดลตา ที่ทำให้ประสิทธิภาพการยับยั้งลดลง แม้ว่าบริษัทเหล่านี้จะเติบโตขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา แต่นักลงทุนกลับกำลังลงทุนในบริษัทลดลง และหาโอกาสการลงทุนในวัคซีนชนิดอื่นที่อาจมีประสิทธิภาพมากกว่านี้

บริษัทผู้ผลิต Johnson & Johnson เป็นวัคซีนที่ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐฯ (CDC) ได้อนุญาตให้ใช้เป็นเข็มที่ 2 แทนวัคซีนของ Pfizer และ Moderna สำหรับผู้ที่มีอาการแพ้ โดยมีมูลค่าบริษัทอยู่ที่ 14.60 ล้านล้านบาท และมีผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี อยู่ที่ 16.17%

บริษัทผู้ผลิต AstraZeneca และมหาวิทยาลัย Oxford มีการร่วมมือกับสถาบันในอินเดียเพื่อผลิตวัคซีนจำนวนมาก และเป็น Supplier รายใหญ่ที่สุดต่อโครงการ COVAX ในการจัดส่งวัคซีนไปยัง 142 ประเทศทั่วโลก โดยมีมูลค่าบริษัทอยู่ที่ 3.65 ล้านล้านบาท และมีผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี อยู่ที่ 2.23%

และวัคซีนชนิดสุดท้ายที่เป็นความหวังของโลก ที่จะสามารถยับยั้งสายพันธุ์เดลตาได้ และ สายพันธุ์ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นมาได้ ได้แก่ วัคซีนชนิด Protein-based ซึ่งคาดว่าวัคซีนกลุ่มนี้จะมีการใช้มากขึ้นในอนาคต สามารถผลิตเพื่อรองรับสายพันธุ์ดื้อยาในอนาคตได้ดี ซึ่งมีผู้ผลิตใหญ่ ได้แก่

บริษัทผู้ผลิต Novavax วัคซีนสัญชาติอเมริกา ได้รับทุนสนับสนุนจากกลุ่มพันธมิตรความร่วมมือด้านนวัตกรรมเพื่อรับมือโรคระบาด (CEPI) จากการทดลองพบว่าสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้และมีความปลอดภัย โดยมีมูลค่าบริษัทอยู่ที่ 0.51 ล้านล้านบาท และมีผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี อยู่ที่ 49.43%

ในขณะที่กลุ่มบริษัทวัคซีนเหล่านี้กำลังเผชิญหน้ากับราคาที่ผันผวนในตลาด เนื่องจากการเกิดสายพันธุ์ใหม่ที่แข็งแกร่งขึ้น ส่งผลให้ประสิทธิภาพวัคซีนแต่ละชนิดสามารถยับยั้งการเกิดโรคลดลง เราคงต้องจับตาดูการวิจัยและพัฒนาวัคซีนในอนาคตนั้น จะสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ต่อไปในได้ในระยะยาวหรือไม่ หากอยากจะลงทุนในกลุ่มธุรกิจนี้ ก็ต้องติดตามความเป็นไปของวัคซีนอยู่เสมอ

Source: Investing, Bloomberg (ข้อมูล ณ วันที่ 21 ก.ค. 2564), Visualcapitalist, กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ข้อมูล ณ วันที่ 24 พ.ค. 2564), Robowealth